วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2561

สรุปวิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้



ปริญญานิพนธ์ของ คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ


  • ความมุ่งหมายของการวิจัย

          - เพื่อเปรียบเทียบทักษะ


      พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนเเละหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อการเรียนรู้

  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

          - แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

          - แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีผู้วิจัยสร้างค่าความเชื่อมั่น


  • กรอบแนวคิดในการวิจัย

          - กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อการเรียนรู้

  1. ขั้นกระตุ้น
  2. ขั้นกรองสู่มโนทัศน์
  3. ขั้นพัฒนาด้วยศิลปะ
  4. ขั้นสรุปสาระการเรียนรู้

        - รูปแบบกิจกรรม

  1. ศิลปะเลียนเเบบ
  2. ศิลปะบูรณาการ
  3. ศิลปะค้นหา
  • ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์


  1. การบอกตำเเหน่ง
  2. การจำเเนก
  3. การนับปากเปล่า
  4. การรู้ค่าจำนวน1-20
  5. การเพิ่ม - การลดจำนวน 1-10

  • วิธีการดำเนินวิจัย


  1. ขอความร่วมมือจาก ผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
  2. ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มเด็กนักเรียน ชาย-หญิง ชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุ ระหว่าง5-6 ปี โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร จับฉลากมา 1 ห้อง ใช้เเบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยเลือกนักเรียนที่มีคะเเนนใน 15 อันดับสุดท้ายมาเป็นกลุ่มทดลอง
  3. ในการวิจัยดำเนินการทดลอง วันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2550 - 1 มีนาคม พ.ศ.2550 ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันจัดกิจกรรมในวันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี ในช่วงเวลา 09.00 - 09.45 น. วันละ 45 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
  4. ทดสอบเด็กกลุ่มทดลองก่อน การทดลองด้วยเเบบทดสอบ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  5. ผู้วิจัยทำหน้าที่สอนเด็กกลุ่มทดลองด้วย เเผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อการเรียนรู้
  6. หลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กกลุ่มทดลองด้วย       เเบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ชุดเดียวกันที่ได้ทดสอบก่อนการทดลองอีกครั้ง
  7. วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และสรุปผลการทดลอง


  • สรุปผลการวิจัย


  1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีคะเเนนเฉลี่ยโดยรวม 5 ทักษะ เเละการจะเเนกทักษะการนับ 1-30 ทักษะการรู้ค่าจำนวนและ ทักษะการเพิ่มลดภายในจำนวน 1-10 อยู่ในระดับดีเเตกต่าง จากก่อนการทดลองอย่างสถิติที่ระดับ 01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
  2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์พัฒนาการ ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง




  • ที่มา : https://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http://thesis.swu.ac.th




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกครั้งที่ 16

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ.2561 (เวลา 08.30-12.30 น.) เนื้อหาการเรียน - การสอน การนำเสนอสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ทำจากถาดรองไข่ มีดังนี...